วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

วัฒนธรรมการแต่งการของจีน

ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น  ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน  รวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
     เนื่องจากชนกลุ่มน้อยเผ่า ๆ ต่างในประเทศจีนมีอยู่ถึง 42 เปอร์เซนต์ ของประชากรจีนทั้งหมด ซึ่งเมืองที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เยอะที่สุดคือเมือง หวินหนาน จึงจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีนและกลุ่มการแต่งกายของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศจีน ซึ่งมีอยู่ถึง 50 กว่า ชนเผ่า  ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มักจะมีการแต่งกายที่มีลักษณะเอกลักษณ์และมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ในฉบับนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโดยสังเขป
วัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน
     สมัยฉิน  (221-220 ปีก่อนคริสต์ศักราช)     เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสมัยฉินได้รับอิทธิพลจากแนวคิดอิ๋นหยางความสมดุลของสรรพสิ่ง กฎแห่งความสมดุลของธรรมชาติ) เนื่องจากยุคสมัยฉินค่อนข้างจะสั้น ดั่งนั้นสีของเสื้อจะเป็นการผสมผสานระหว่างสีเสื้อผ้าที่ฉินซีฮ่องเต้เป็นผู้กำหนดและสีเสื้อผ้าตามประเพณีจารีตของยุคจ้านกั๋ว
     เสื้อผ้าผู้ชายสมัยฉินเป็นลักษณะเสื้อคลุมยาว ฉินซีฮ่องเต้ได้กำหนดให้ใช้สีดำเป็นหลักในการตัดเย็บสำหรับเสื้อผ้าพิธีการ โดยเชื่อว่าสีดำเป็นสีที่คู่ควรแก่การได้รับความเคารพ ข้าราชการยศระดับ 3 ขึ้นไปให้ใช้สีเขียวประกอบในการตัดเย็บ ประชาชนทั่วไปใช้สีขาวประกอบในการตัดเย็บ เสื้อผ้าผู้หญิง ฉินซีฮ่องเต้ไม่ได้มีการกำหนดสีในการตัดเย็บเนื่องจากท่านชื่นชอบสีสันความสวยงามของเสื้อผ้าที่นางสนมในวังสวมใส่ จึงเน้นเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยหรู ฉูดฉาด
     สมัยฮั่น (202 ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 8)   เสื้อผ้าสมัยฮั่น จะประกอบด้วย เสื้อคลุมยาว เสื้อลำลองแบบสั้น เสื้อนวมสั้น  กระโปรง (ผู้หญิง) และ กางเกง (ผู้ชาย) ในยุคนี้ผ้าที่มีลักษณะการถักทอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก  ดังนั้น คนที่มีเงินในสมัยนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าแพรต่วน ซึ่งมีความสวยงามมาก โดยทั่วไปผู้ชาย จะสวมเสื้อสั้น กางเกงขายาว  และหากฐานะยากจน จะสวมเสื้อแขนสั้นที่ตัดเย็บด้วยผ้าหยาบ  ในส่วนของผู้หญิงในสมัยฮั่นเสื้อผ้ามีตั้งแต่เป็นลักษณะเสื้อและกระโปรงต่อกัน (กี่เพ่า) และแยกเสื้อกระโปรงเป็น 2 ชิ้น  กระโปรงจะมีลวดลายหลากหลายมาก กระโปรงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยนั้น คือ “กระโปรงลายเทพสถิตย์ ”ระดับชั้นของข้าราชการในสมัยฮั่น จะมีหมวกและสายประดับยศเป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งชั้นของขุนนาง ซึ่งสมัยนั้น ตำแหน่งอัครเสนาบดีเป็นขุนนางตำแหน่งสูงสุด
     สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย ( ค.ศ.220- ค.ศ.589) สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย หรือที่เรารู้จักกัน “สมัยสามก๊ก” ก็อยู่ในยุคนี้ สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ยจัดได้ว่าเป็นสมัยที่ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าเฟื่องฟู เครื่องแต่งกายชายหญิง ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ จนถึงประชาชนทั่วไป เสื้อผ้า จะมีลักษณะหลวมยาว และมีเข็มขัดคาด หากเป็นเสื้อผ้าผู้ชายจะมีการเปิดแผงหน้าอกเล็กน้อย ไหล่เสื้อลู่ลง แขนเสื้อกว้าง สวมใส่ดูสบาย (ทั้งนี้แล้วแต่มุมมองของผู้อ่าน เนื่องจากบางท่านก็เห็นว่าแลดูลุ่มล่าม) ในส่วนของเสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อกี่เพ่าแลดูเป็นกระโปรงยาวลากพื้น แขนเสื้อกว้าง เข็มขัดจะคาดให้ดูเป็นชั้น ๆ  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุภาพ และสง่างาม
     สมัยสุ่ย และสมัยถัง  (ค.ศ. 581-ค.ศ. 907)   เสื้อผ้าของสมัยสุ่ยและสมัยถังมีรูปแบบเสื้อผ้าที่มีความใกล้เคียงกันสูง เสื้อผ้าต้นสมัยสุ่ยค่อนข้างจะเรียบง่าย  เสื้อผ้ายังคงมีลักษณะกี่เพ่าหรือเสื้อคลุมยาว เมื่อกษัตริย์สุ่ยหยางขึ้นครองราชย์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื้อผ้าในยุคสมัยดังกล่าวได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สวยงามขึ้นเช่นกัน
                  เสื้อผ้ากษัตริย์สมัยสุ่ยและถัง                        เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยสุ่ย
     ในสมัยถัง นับได้ว่ามีความเจริญทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นเสื้อผ้าในสมัยนี้จัดได้ว่ามีความสวยงามยิ่ง เสื้อผ้าพิธีการของสตรีชั้นสูงจะมีลักษณะเปิดหน้าอก คอเสื้อต่ำ แขนเสื้อยาวและใหญ่ สวมเสื้อกระโปรงที่ทำจากผ้านวม มีผ้าคลุมไหล่ สมัยนั้นเทคนิคสิ่งทอถือว่ามีความล้ำหน้าเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ได้รับวัฒนธรรมแบบเสื้อผ้าจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน (เกาหลี ,ญี่ปุ่น) ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าสมัยถังเป็นยุคที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก
                           เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยถัง                     เสื้อผ้าผู้ชายสมัยถัง
     สมัยซ่ง  (ค.ศ.960 – ค.ศ.1279)  แบบเสื้อผ้าสมัยซ่งยังคงได้รับอิทธิพลตกทอดมาจากสมัยถัง แต่เนื่องจากสมัยนั้นแนวความคิดปรัชญา(ของสำนักขงจื้อ) เฟื่องฟู  พฤติกรรมของผู้คนส่วนใหญ่คล้อยตามแนวคำสอนของท่านขงจื้อ มีรสนิยมชื่นชมในความเป็นธรรมชาติ ส่งผลให้แบบเสื้อผ้าของผู้คนในสมัยซ่งไม่เน้นลวดลายสีฉูดฉาด เครื่องแต่งกายเสื้อผ้าของข้าราชการจะเป็นเสื้อคลุมยาว แขนเสื้อใหญ่  สวมหมวกประจำตำแหน่ง มีการแบ่งสีเสื้อผ้าเพื่อบ่งบอกยศตำแหน่ง ในส่วนของเสื้อผ้าสตรี เป็นลักษณะเสื้อคลุมตัวใหญ่และยาว ช่วงคอตรง  ผ้าในส่วนรักแร้ทั้งสองข้างตัดแยกออกจากกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เสื้อกั๊กสมัยซ่ง”  แบบเสื้อผ้านี้ได้รับความนิยมในหมู่นางสนมในวังและสตรีทั่วไปในสมัยนั้น
                                         เสื้อกั๊กสมัยซ่ง                                        เครื่องแต่งกายสตรี
     สมัยเหวี่ยน   (ค.ศ.1206 – ค.ศ.1368)  สมัยเหวี่ยนเป็นสมัยที่มองโกลได้เค้ามายึดครองเมืองจีน แต่ทว่าวัฒนธรรมการแต่งกายยังคงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่นอยู่ ดังนั้นเครื่องแต่งกายในสมัยนี้จึงเป็นการผสมผสานระหว่างกลิ่นอายมองโกลและฮั่น เสื้อผ้าชายหญิงในสมัยเหวี่ยนไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าไหร่นัก ยังคงเป็นลักษณะกี่เพ่าหรือชุดคลุมยาว มีเทคนิคการทอโดยการใช้วัตถุดิบผ้าทอง และขนสัตว์ ในการทอเสื้อผ้า เพื่อเป็นการแบ่งระหว่างการตัดเย็บแบบมองโกล และการตัดเย็บแบบฮั่น ชาวมองโกลจะมีเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายที่นอกเหนือจากกี่เพ่ายาวแล้ว ยังนิยมสวมหมวก “กูกู” เสื้อตรงหน้าอก เบ้ไปทางซ้าย ยาวและลึก สวมกระโปรงยาวทับ รองเท้าบูธหนังนิ่ม    หากเป็นเสื้อผ้าสตรีชาวฮั่นโดยทั่วไปแล้วยังคงสืบทอดการแต่งกายสมัยซ่งอยู่ เสื้อตรงหน้าอก เบ้ไปทางขวา มีผ้าคลุมไหล่ สวมกระโปรงจับจีบ สวมรองเท้าเรียบติดพื้น
                            เสื้อผ้าบุรุษสมัยเหวี่ยน                                  เสื้อผ้าสตรีสมัยเหวี่ยน
     สมัยหมิง  (ค.ศ.1368 – ค.ศ.1645) ในสมัยหมิงหรือสมัยแมนจูได้ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาวฮั่น ดังนั้นเครื่องแต่งกายจะมีกลิ่นอายการผสมผสานระหว่างสมัยฮั่น  ถังและซ่ง เสื้อผ้าชายจะเน้นเสื้อคลุมยาว เป็นหลัก ข้าราชการจะเน้นสวมใส่ชุด “ปู่ฝู” สวมหมวกผ้าแพรบาง สวมเสื้อคอกลม ลายผ้าตรงกลางเสื้อคลุมยาวบ่งบอกถึงยศตำแหน่งทางราชการ สมัยนั้นผู้ชายทั่วไปยังนิยมสวมหมวกผ้าแบบสีเหลี่ยมอีกด้วย ในส่วนของชุดแต่งกายสตรี สวมเสื้อกันหนาวที่มีซับในแบบจีน พกผ้าคลุมที่มีไว้พาดไหล่สีแดง  หรือพัด และสวมกระโปรงเป็นต้น
รูปแบบเสื้อผ้าส่วนใหญ่ เช่น เสื้อกั๊กยาว ยังคงลอกเลียนมาจากสมัยถังและซ่ง นางในสมัยหมิงนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูน่าเลื่อมใส สวมเสื้อก๊กเป็นชุดนอก แขนเสื้อแลดูเข้ารูป กระโปรงจีบข้างในสวมกางเกงขายาว ในสมัยหมิงหญิงสาวเริ่มนิยมพันเท้าให้เล็กหรือเรียกกันว่า “เท้ากลีบดอกบัว”
         เครื่องแต่งกายชาย สวมหมวกผ้าทรงสี่เหลี่ยม              เสื้อกั๊กและเสื้อผ้าสตรี
     สมัยชิง  (ค.ศ.1644 – ค.ศ.1911 )    เครื่องแบบสมัยชิงยังคงได้รับการตกทอดมาจากสมัยหมิง ในขณะเดียวกันก็รับเอาจุดเด่นของแบบเสื้อสมัยฮั่นเข้ามาประยุกต์ด้วย เสื้อผ้าผู้ชายยังคงเน้นเสื้อคลุมยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีน  เสื้อชั้นในแบบยืดลักษณะเป็นเสื้อกล้าม  โกนศรีษะออกครึ่งนึง อีกครึ่งทักเปียยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีนจะสวมทับไว้ด้านนอกของชุดเสื้อคลุมที่หลวมยาว ชุดลักษณะดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นชุดพิธีการ ชุดแต่งกายที่เป็นเสื้อและกระโปรงของผู้หญิงสมัยนั้นเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างชาวฮั่นกับชาวแมนจู  โดยเฉพาะกี่เพ่าเป็นลักษณะของชาวแมนจูอย่างเห็นได้ชัด นอกเหนือจากนี้ยังมีเสื้อกั๊ก  กระโปรง  ผ้าคลุมไหล่  สายรัดเอว เครื่องแต่งกายต่าง ๆ เรียกได้ว่าถอดมาจากสมัยหมิงหรือแมนจูเลยก็ว่าได้ ประเพณีการรัดเท้ายังคงสืบทอดมาถึงสมัยชิง
      เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีสมัยชิง        สภาพเท้าของสตรีที่รัดเท้าเมื่อเอาผ้าพันเท้าออก
     สมัยปฏิวัติซินไฮ่  (ค.ศ.1911-ค.ศ.1949) ในยุคสมัยปฎิวัติซินไฮ่ หรือยุคปฏิวัติราชวงศ์ชิง เครื่องแต่งกายของชาวจีนนับวันยิ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการแต่งกายแบบชาวตะวันตกเริ่มเข้ามา ทำให้ไม่ว่าจะเป็นชุดเสื้อคลุมยาวหลวมของผู้ชาย กี่เพ่าผู้หญิง เสื้อกั๊ก  กางเกงและกระโปรง ล้วนถูกดัดแปลงผสมผสานระหว่างแบบเสื้อตะวันตกและแบบเสื้อจีน อีกทั้งในยุคดังกล่าวยังได้ถือกำเนิดแบบเสื้อใหม่ในยุคนั้น คือ ชุดฟรอม์จงซาน  ชุด ฟรอม์นักเรียนนักศึกษา ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง
     ปัจจุบัน แม้วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนจะไม่สามารถคงความเป็นรูปแบบเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายประจำชาติได้อย่างประเทศในแถบอินเดีย เนื่องจากได้รับเอาค่านิยมแบบเสื้อผ้าจากชาวตะวันตกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่เราก็ยังคงได้พบเห็นแบบแฟชั่นที่บ่งบอกความเป็นเอกลักษณ์ของชาวจีน เช่น ปกเสื้อคอจีน กี่เพ่า เป็นต้น ซึ่งยังเป็นที่นิยม คงความสวยงามและเป็นแบบเสื้อที่ไม่มีวันตาย  **
ขอบคุณที่มา http://www.thaigoodview.com/node/83316

สถานที่ท่องเที่ยว 10 อันดับที่ไม่ควรพลาด

1. The Forbidden City
The Forbidden City 10 อันดับ สถานที่ท่องเที่ยวของจีน ที่ไม่ควรพลาด !
The Forbidden City
“The Forbidden City”หรือนครต้องห้าม ตั้งอยู่ใจกลางของกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศจีนและอยู่ทางตอนเหนือของจตุรัสเทียนอันเหมิน พระราชวังแห่งนี้ เป็นเขตหวงห้ามไม่ไห้ประชาชนเข้า แม้แต่ข้าราชการชั้นสูง ยังต้องขออนุญาตเป็นกรณีพิเศษ จึงเรียกพระราชวังนี้ว่า“พระราชวังต้องห้าม” จักรพรรดิจะทรงประทับอยู่ในพระราชวังแห่งนี้ กั้นพระองค์จากโลกภายนอก โดยมีสนมกำนัล ขันที และข้าหลวงรับใช้ ซึ่งคนเหล่านี้ต้องอาศัยอยู่ในนครต้องห้ามตลอดชีวิต
2. The Great Wall
The Great Wall 10 อันดับ สถานที่ท่องเที่ยวของจีน ที่ไม่ควรพลาด !
The Great Wall
“The Great Wall” หรือ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อ“กำแพงเมืองจีน” บ้างก็เรียกว่า“กำแพงหมื่นลี้” เพราะมีความยาวถึง 6,350 กิโลเมตร กำแพงเมืองจีนสร้างเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้จักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยฮ่องเต้องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย
3. The Terracotta Warriors
The Terracotta Warriors
The Terracotta Warriors 10 อันดับ สถานที่ท่องเที่ยวของจีน ที่ไม่ควรพลาด !
“The Terracotta Warriors” หรือ “สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้” สุสานของจอมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉินเป็นสุสานที่เต็มไปด้วยหุ่นดินเผาของทหารและม้านับหมื่น เล่ากันว่า“จิ๋นซีฮ่องเต้” มีพระบัญชาให้สร้างมหาสุสานเพื่อเป็นที่พักผ่อนชั่วนิรันดร์ โดยใช้ช่างฝีมือและคนงานกว่าเจ็ดแสนคนปั้นหุ่นทหารจากแบบที่เป็นคนจริง เมื่อปั้นเสร็จคนที่เป็นแบบจะถูกสังหารให้วิญญาณมาสถิตในหุ่นเพื่อพิทักษ์สุสาน ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครพบที่ฝังพระศพของจิ๋นซีฮ่องเต้ และที่นี่ก็กลายมาเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ที่ตะลึงกันทั่วโลก
4. Karst Mountains in Yangshuo
Karst Mountains in Yangshuo
Karst Mountains in Yangshuo
“Karst Mountains” ในเมืองหยางโจว เป็นภูเขาที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก ตั้งอยู่ที่มณฑลกวางซีซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน ทิวทัศน์ที่สวยที่สุดของที่นี่คือการมองจากหยางโจว เขตเทศบาลเล็กๆ บริเวณชานเมือง“กุ้ยหลิน” ซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลกวางซี
5. Hangzhou – Paradise on Earth
Hangzhou - Paradise on Earth
Hangzhou - Paradise on Earth
“หางโจว” (Hangzhou) ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง ทางตะวันออกของจีนเป็นสวรรค์บนดินที่ล้อมรอบด้วย“ทะเลสาบซีหู” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมือง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากที่สุด
6. Jiuzhaigou
Jiuzhaigou
Jiuzhaigou
หุบเขา“จิ่วจ้ายโกว” (Jiuzhaigou) เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติทางตอนเหนือของมณฑลเสฉวน ประเทศจีน มีทะเลสาบที่สวยมหัศจรรย์เหลือจะบรรยาย ยิ่งในฤดูใบไม้ร่วง สีเหลืองของใบไม้สะท้อนผ่านสีเขียวของผืนน้ำ เกิดเป็นภาพที่สะกดทุกสายตา จนในปี พ.ศ. 2535 องค์การยูเนสโกได้ประกาศพื้นที่นี้ให้เป็นมรดกโลก และเป็น World Biosphere Reserve ใน พ.ศ. 2540
7. Potala Palace, Lhasa
Potala Palace, Lhasa
Potala Palace, Lhasa
“พระราชวังโปตาลา” ตั้งอยู่ที่กรุงลาซา เขตปกครองตนเองทิเบต ประเทศจีน ปราสาทนี้ถูกสร้างในลักษณะของวังซ้อนวัง พระราชวังวงนอกเรียกว่า วังขาว เพราะทาสีขาว สร้างเสร็จ ปี ค.ศ. 1648 พระราชวังชั้นในเรียกว่าวังแดง ได้ชื่อตามผนังที่ทาสีแดง สร้างที่หลังวังขาวเกือบ 50 ปี ปัจจุบันพระราชวังโปตาลากลายเป็นพิพิธภัณฑ์และสถานสักการะ ภายในวังขาว มีสำนักงาน โรงเรียนศาสนา ส่วนวังแดงเป็นส่วนที่ยังใช้ประกอบพิธีกรรมอยู่ เป็นศูนย์รวมใจของโปตาลา
8. The Bund, Shanghai
The Bund, Shanghai
The Bund, Shanghai
“The Bund” (The Bund เป็นภาษาเยอรมันหมายถึงจุดนัดพบ) หรือที่ชาวจีนเรียกกันว่า“Waitan” (ไว่ทัน) คือพื้นที่ที่อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำHuangpu ทิวทัศน์ที่น่าสนใจบริเวณนี้ก็คือเหล่าตึกที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปในยุคศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “An International Exhibition of Architecture” หรือนิทรรศการแสดงสถาปัตยกรรมนานาชาติ
9. Giant Pandas and Chengdu
Giant Pandas and Chengdu
Giant Pandas and Chengdu
อยากชิมอาหารพื้นเมืองอันมีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ไม่ควรพลาด“เฉิงตู” หนึ่งในเมืองสวยงามและเป็นแหล่งที่รวมอาหารเด็ดที่สุดในซีอาน พร้อมสัมผัสแพนด้ายักษ์อย่างใกล้ชิดที่สถาบันวิจัยการผสมพันธุ์สัตว์
10. Modernity in Hong Kong
Modernity in Hong Kong
Modernity in Hong Kong
“ความล้ำสมัยที่สุดของจีนสัมผัสได้จากฮ่องกง เชื่อกันว่าหากอยากเห็นภาพตระการตาและไฮเทคของบ้านเมืองพี่จีน ให้ข้ามไปที่เกาะเกาลูน ฝั่งฮ่องกงแล้วมองกลับมา และภาพนั้นจะปรากฏอยู่ตรงหน้า

ประเทศจีน

ที่ตั้ง จีนตั้งอยู่บนทวีปเอเชียตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับประเทศต่างๆ โดยรอบ 15 ประเทศ คือ เกาหลีเหนือ รัสเซีย มองโกเลีย คาซัคสถาน เคอร์กิชสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน อินเดีย เนปาล สิกขิม ภูฐาน พม่า ลาว และเวียดนาม ขณะที่ทิศตะวันออกและทิศใต้จดทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้
พื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลกรองจากประเทศ รัสเซีย และแคนาดา พรมแดนทางบกของจีนมีความยาว 28,000 กิโลเมตร และมีชายฝั่งทะเลยาว 18,000 กิโลเมตร เกาะที่ใหญ่ที่สุด ในบรรดาเกาะน้อยใหญ่ทั้งหมด 6,536 เกาะ คือเกาะไต้หวันและไห่หนาน เมืองหลวงคือ ปักกิ่ง
เมืองหลวง กรุงปักกิ่งหรือเป่ยจิง (ภาษาราชการจีนเรียกว่า “เป่ยจิง” – Beijing ) มีประชากร ประมาณ 30 ล้านคน

หอบูชาฟ้า ในวัดแห่งสวรรค์ในกรุงเป่ยจิง ( ปักกิ่ง ) เป็นสัญลักษณ์แทนความเป็นศูนย์กลางของจีนในพิภพนี้
ประชากร ประมาณ 1,300 ล้านคน มีประชากรมาก เป็นอันดับหนึ่งของโลก 93% เป็นชาวฮั่น ส่วนที่เหลือ 7% เป็นชนกลุ่มน้อย ได้แก่ ชนเผ่าจ้วง หุย อุยกูร์ หยี ทิเบต แม้ว แมนจู มองโกล ไตหรือไท เกาซัน รัฐบาลจีนมีนโยบายเพื่อควบคุมจำนวนประชากรชาวฮั่น ซึ่งครอบครัวหนึ่ง ควรมีบุตรเพียงหนึ่งคนเท่านั้น นโยบายนี้ไม่ได้บังคับใช้ในชนกลุ่มน้อย
วัฒนธรรมจีน การเรียกชื่อสกุลของชาวจีนตรงกันข้ามกับภาษาไทย คือเรียกต้นด้วยชื่อสกุล ชื่อตัวใช้เรียกกันในหมู่ญาติ และเพื่อนสนิท
โดยปกติชาวจีนมักไม่ทักทาย ด้วยการจับมือหรือจูบเพื่อร่ำลา
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ชาวจีนมีเครือข่ายคนรู้จัก ( เหมือนกับการมีเส้นสายในไทย ) กล่าวกันว่าชาวจีนที่ไร้เครือข่ายคนรู้จัก เป็นผู้ที่เป็นจีนเพียงครึ่งเดียว จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักกับผู้คนชาวต่างชาติ ซึ่งทำธุรกิจในประเทศจีน ดังนั้นควรให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมนี้ด้วยการเชื้อเชิญ
ภาษา แมนดารินเป็นภาษาราชการ และมีภาษาท้องถิ่นอีกจำนวนมาก เช่น ภาษากวางตุ้ง แต้จิ๋ว เซี่ยงไฮ้ แคะ ฮกเกี้ยน เสฉวน หูหนาน ไหหลำ เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้อักษรจีนแบบย่อ (Simplified Chinese) มีอักษรทั้งหมด 56,000 ตัว ใช้ประจำ 6,763 ตัว ถ้ารู้เพียง 3,000 ตัว ก็อ่านหนังสือพิมพ์และทั่วไปได้
ประวัติศาสตร์ กว่า 4,000 – 5,000 ปี ช่วง 3,500 ปี เป็นยุคประวัติศาสตร์ราชวงศ์แรกสุดคือ ราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์สำคัญของจีน เช่น ฉิน ฮั่นถัง ซ่ง จีนปกครองแบบสาธารณรัฐเมื่อ ค.ศ. 1911 และเป็นคอมมิวนิสต์เมื่อ ค.ศ. 1949
ภูมิอากาศ พื้นที่ภาคเหนือมี 4 ฤดู แห้งและหนาวเย็นในหน้าหนาว ร้อนอบอ้าวในหน้าร้อน ตอนใต้มีอากาศแบบร้อนชื้น ซึ่งอากาศจะแตกต่างกันตามภูมิประเทศ
ภูมิประเทศ ส่วนที่ใหญ่ที่สุดของจีนอยู่ในเขตอบอุ่น ซึ่งมีฤดูกาลที่แตกต่างกันไป ทางตะวันตกส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา ทะเลทราย และที่ราบสูง และค่อยๆ ลาดลงทางทิศตะวันออก
 ธงชาติ รูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง (ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นผู้นำ ดาวเล็กๆ ทั้งสี่ดวงหมายถึง “ชนชั้น” ที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ)
เขตการปกครอง การปกครองส่วนกลางแบ่งออกเป็น 23 มณฑล (รวมถึงไต้หวัน) , 5 เขตปกครองตนเอง (มองโกเลีย หนิงเซี่ย ซินเจียง กวางสี และทิเบต) , 4 มหานครที่ขึ้นต่อส่วนกลาง (ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ เทียนจิน และฉงชิ่ง และ 2 เขตบริหารพิเศษ (ฮ่องกง และมาเก๊า)
ศาสนาและความเชื่อ
       ในสมัยโบราณ จีนนับเป็นดินแดนที่มีศาสนาและปรัชญารุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มากมาย โดยลัทธิความเชื่อเดิม นั้นมีอยู่สองอย่างคือ ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อ ซึ่งเน้นหลักจริยธรรมมากกว่าที่ จะเป็น หลักศาสนาที่แท้จริง ส่วนพุทธศาสนานั้น จีนเพิ่งรับมาจากอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษแรกนี้เท่านั้น ครั้นมาถึงยุคคอมมิวนิสต์ ศาสนากลับถูกว่าเป็นปฎิปักษ์ต่อลัทธิทางการเมืองโดยตรง แต่ในช่วงหลังๆ นี้ทางการก็ได้ยอมผ่อนปรนให้ กับการนับถือศาสนาและความเชื่อต่างๆ ของประชาชนมากขึ้นอีกครั้ง ลักธิขงจื๊อ ลัทธิเต๋า ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ( ในเขตตะวันตกของจีน ) และศาสนาคริสต์จึงได้กลับมาเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้ชาวจีน ยังเชื่อถือในเรื่องตัวเลขนำโชคหมอดู และการพยากรณ์กันมาตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณ เฟินสุ่ยและตัวเลขนำโชค
แนวคิดเรื่องพรหมลิขิตของจีนเริ่มมีขึ้นในยุคสังคมศักดินาที่ผู้คนเชื่อกันว่า ” เทพเจ้า ” ( จักรพรรดิ ) สามารถตัดสินชะตาของคนได้ แต่เมื่อเกิดกบฏโค่นล้มราชวงค์ลงได้สำเร็จ ความเชื่อที่ว่าจักรพรรดิ เป็นผู้ไร้เทียมทานก็พลอยดับสูญไปด้วย ประชาชนได้หันมาบูชาม้าและวัว จนนำไปสู่การสังเกตุเห็นว่า เป็นรูปร่าง ขน และสีผิวที่ต่างกันย่อมส่งผลให้สัตว์แต่ละประเภทมีความสามารถ อารมณ์ อายุที่ยืนยาวแตกต่างกันไป สุดท้ายจึงหันมาสังเกตุดูลักษณะของคนด้วยกันเองบ้าง
เฟิงสุ่ย ( ฮวงจุ้ย/น้ำและลม ) เป็นศาสตร์แห่งการพยากรณ์ที่มีมาแต่โบราณ ใช้ดึงดูดโชคลาภและปัดเป่า เคราะห์ร้ายนานา ผู้เชื่อถือศาสตร์นี้จะไปขอคำแนะนำจากอาจารย์ดูเฟินสุ่ยทุกเรื่อง ทั้งการออกแบบ หาฤกษ์ยาม การตกแต่งบ้านหรือสำนักงาน เป็นต้น
อาจารย์ดูเฟินสุ่ยส่วนใหญ่จะเชื่ยวชาญการดูโหงวเฮ้ง ดูลายมือ ดูดวงจากวันเดือนปีเกิด และเวลาตกฟากด้วย นักปรัชญจีนในสมัยราชวงค์ฮั่น ได้คิดค้นระบบ 12 นักษัตร อันประกอบด้วย ปีชวด ฉลู ขาล เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุนขึ้น โดยแบ่งคนออกเป็น 12 กลุ่มตามปีเกิด และนำเอาหลักปรัชญากับตัวเลขมาคิดคำนวณเพื่อพยากรณ์โชคเคราะห์ และอนาคตของบุคคล เช่น เลขสองหมายถึงความสบาย เลขสามคือชีวิตหรือการให้กำเนิดบุตร เลขหกคือการมีอายุยืน เลขแปดคือความมั่งคั่งร่ำรวย เลขเก้าคือความเป็นนิรันดร์ เมื่อนำตัวเลขมารวมกันก็จะได้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น 163 หมายถึง “การมีอายุยืนยาว” หรือ “การมีลูกดก” เป็นต้น
เงินตรา
       สกุลเงินของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนคือเงินเหยินหมินปี้ ( Renminbi แปลตามตัวว่าเงินของประชาชน ) มักใช้ตัวย่อ RMB หน่วยเงินของจีนเรียกว่าหยวน ( yuan ) หนึ่งหยวนมีสิบเจี่ยว ( jiao ) หนึ่งเจี่ยวมีสิบเฟิน ( fen ) 100 เฟินเท่ากับหนึ่งหยวน ธนบัตรแบ่งออกเป็นใบละ 1 หยวน , 5 เจี่ยว , 1,2 และ 5 เฟิน
เฟินเป็นหน่วยเล็กสุด < เจี่ยวหรือเหมาเป็นหลักสิบ < จากนั้นเป็นหยวน
วันหยุดนักขัตฤกษ์
       งานเทศกาลพื้นบ้านของจีน เช่น เทศกาลตรุษจีนจะถือเอาวันตามปฏิทินทางจันทรคติเป็นหลัก ดังนั้นวันที่มีการจัดงานเทศกาลดังกล่าวขึ้นจึงเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่เคยตรงกันเลยในแต่ละปี ส่วนวันหยุดราชการนั้นจะถือเอาวันตามปฏิทินของทางตะวันตกเป็นหลัก
1 มกราคม : วันขึ้นปีใหม่
กุมภาพันธ์ : วันตรุษจีน ( กำหนดวันในแต่ละปีไม่ตรงกัน )
8 มีนาคม : วันสตรีสากล
1 พฤษภาคม : วันแรงงานสากล
4 พฤษภาคม : วันเยาวชน
1 มิถุนายน : วันเด็ก
1 กรกฎาคม : วันก่อตั้งพรรคคอมมินิสต์
1 สิงหาคม : วันก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชน
1 ตุลาคม : วันชาติ (สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 ภายหลังจากที่พรรคคอมมิวนิสต์ จีนมีชัยชนะในสงครามกลางเมืองเหนือพรรคก๊กหมินตั๋ง)
ศิลปะและงานหัตถกรรม
       ประวัติศาสตร์อันยาวนานและความภูมิใจในอารยธรรมของตน ส่งผลให้จีนพัฒนา และสร้างงานศิลปะหัตถกรรมที่งดงาม อันทรงคุณค่ายิ่ง
ภาพเขียน
       ศิลปะการวาดภาพของจีนมีความสัมพันธ์แนบแน่นกับศิลปะการเขียนอักษร ในสมัยโบราณจิตรกรจะต้องฝึกฝนศิลปะการเขียนอักษรอย่างจริงจัง ส่วนนักเขียนอักษรก็มักมีประสบการณ์ในการวาดภาพ ศิลปะทั้งสองแขนงจะต้องเคียงกันในงานแต่ละชิ้น
ชาวจีนถือว่าอักษรเป็นเครื่องมือในการสืบทอดวัฒนธรรม และความสมารถในเขิงอักษรศาสตร์ยังช่วยส่งบุคคลให้ ก้าวสู่สถานภาพทางสังคมที่สูงยิ่งขึ้น แม้จะมีภาษาถิ่นที่หลากหลาย แต่ภาษาเขียนกลับมีเพียงหนึ่งเดียว ภาษาเขียนซึ่งมีเอกภาพและเป็นเครื่องมือสืบทอดประวัติศาสตร์นี้ จึงมีความสำคัญกว่าภาษาพูด
เครื่องกระเบื้องเคลือบ
       ชาวจีนคิดประดิษฐ์เครื่องเคลือบขึ้นในราวศตวรรษที่ 7 แต่เครื่องเซรามิกนั้นมีมาตั้งแต่ยุคหินใหม่แล้ว โดยกลุ่มแม่น้ำหวงเหอและฉางเจียงนั้นเป็นแหล่งกำเนิดของภาชนะดินเผาลายหวี-ลายเชือก สีแดงและสีดำมีอายุราว 7,000 – 8,000 ปี ส่วนแหล่งอารยธรรมหยางเส้ากับหลงซาน ( 5,000 – 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ) ก็ได้พัฒนารูปแบบภาชนะดินเผาขึ้นจนมีความหลากหลายโดยใช้สีแดง ดำ และน้ำตาลเป็นหลัก และยังมีการคิดประดิษฐ์ภาชนะดินเผาลายหน้ากากมนุษย์และปลาที่มีผิวบาง แข็งแกร่งเคลือบด้วยดินเหนียวสีขาว และทรายชั้นดีต่อมาในยุคราชวงศ์ฮั่นได้มีการทำเครื่องเคลือบสีเทาอ่อน ผิวเหลือบเขียวเป็นมันวาวขึ้นที่เมืองเยว่โจว
ถึงยุคราชวงศ์ถังมีชื่อเสียงลือไปไกลถึงยุโรปและตะวันออกกลาง
ยุคราชวงศ์ยวน ได้มีการนำเทคนิคจากตะวันออกใกล้มาใช้เขียนลวดลายใต้ผิวเคลือบให้เป็นสีน้ำเงินสด เป็นที่รู้จักในนามเครื่องเคลือบราชวงศ์หมิง
ครั้นถึงยุคต้นราชวงศ์ชิง เครื่องเคลือบสีฟ้า – ขาวก็ได้รับการพัฒนาคุณภาพขึ้นจนบรรลุถึงขั้นสูงสุด
เครื่องหยก
       หยกจัดเป็นอัญมณีมีค่าของจีน และเป็นหนึ่งในงานฝีมือที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจนถึงขั้นสุดยอดมาแต่ครั้งโบราณ
มีตำนานเล่าว่าเมื่อผานกู่สิ้นชีพ ลมหายใจของท่านได้กลายเป็นสายลมกับหมู่เมฆ เนื้อหนังกลายเป็นดิน ไขกระดูกกายเป็นหยกและไข่มุก ชาวจีนจึงเชื่อว่าหยกมีทั้งความงามและอำนาจวิเศษ คนโบราณเคยใช้หยกประกอบพิธีศาสนา ก่อนนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ เครื่องหยกที่เก่าแก่ที่สุดนั้นขุดพบในชุมชนยุคหินใหม่เมื่อ 7,000 ปีก่อนที่เหอหม่าตู ความเชื่อที่ว่าหยกมีอำนาจปกปักรักษา ทำให้มีการนำหยกไปทำเป็นชุดให้กับคนตาย หยกประกอบด้วยธาตุเจไดต์และเนไฟรต์ เจไดต์นั้นมีค่ามากกว่าเพราะหายาก เนื้อแกร่ง สีใสกึ่งโปร่งแสง ในขณะที่เนไฟรต์จะมีเนื้ออ่อนกว่า สีของหยกมีหลากหลายตั้งแต่ขาวไปจนถึงเขียว ดำ น้ำตาล และแดง ชาวจีนถือว่าหยกสีเขียวมรกตเป็นหยกที่มีค่ามากที่สุด แหล่งผลิตเครื่องหยกของจีนในปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองชิงเทียน (มณฑลเจ๋อเจียง) โซ่วซาน (มณฑลฝูเจี้ยน)และลั่วหยาง (มณฑลเหอหนาน)
อาหารจีน
       หากจะเลือกอาหารของชาติใดขึ้นมาเป็นอาหารสากลสักชาติหนึ่ง ก็ไม่ควรมองข้ามอาหารจีน เพราะมีที่ใดในโลกบ้างที่คุณหาซื้ออาหารจีนกินไม่ได้ ?
จีนเป็นชนชาติที่ผูกพันแนบแน่นอยู่กับอาหารการกิน ปัญหาทุพภิกขภัยในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาได้บีบบังคับให้ชาวจีนต้องคิดหาวิธีใช้ และถนอมอาหารที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ชนชั้นสูงยังใช้อาหารเพื่อเครื่องแสดงออกซึ่งความมั่งคั่ง และสถานภาพอันสูงส่งของตนอีกด้วย เนื่องจากจีนมีภูมิประเทศอันหลากหลาย จีนอุดมสมบูรณ์ด้วยเครื่องเทศและพืชผักนานาพันธุ์
ความใส่ใจในเรื่องอาหารของชาวจีนสะท้อนออกมาทางปรัชญา และวรรณคดี โดยนักปราชญ์ผู้สร้างสรรค์ผลงานเหล่านี้ มักเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารด้วย เหลาจื่อสอนว่า “จงรับมือกับประเทศใหญ่ๆ ด้วยความอ่อนโยนนุ่มนวลเสมือนหนึ่งท่านกำลังทำปลาตัวเล็ก ๆ”
จวงจื่อเคยแต่งโคลงแนะนำการคัดสรรพ่อครัวให้กับจักรพรรดิ ความว่า “พ่อครัวชั้นดีจะเปลี่ยนมีดใหม่เพียงปีละครั้งเพราะเขาหั่น พ่อครัวชั้นเลวจะเปลี่ยนมีดใหม่ทุกเดือนเพราะเขาสับ” ทัศนคติเช่นนี้เองที่ส่งเสริมให้อาหารจีนก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในอาหารที่ดีสุดในโลก
อุปกรณ์สำคัญในการทำครัวของชาวจีนมีอยู่สี่อย่าง คือ เขียง มีด กระทะก้นกลม และตะหลิว
ชาวจีนประกอบอาหารด้วยการผัดในกระทะไฟแรงเป็นหลัก เพราะเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเชื้อเพลิงและทำให้อาหารคงคุณค่าความสดกรอบเอาไว้ได้ การทอด นึ่งและเคี่ยวก็เป็นวิธีที่นิยมทำกันมาก ในขณะที่การย่างและอบนั้นจะทำกันแต่ในครัวของภัตตาคารเท่านั้น อาหารจีนจะต้องถึงพร้อมทั้งสีสัน รสชาติ และหน้าตา มีอาหารอยู่เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้นที่ปรุงอย่างเดียวเดี่ยวๆ โดดๆ สิ่งสำคัญคือส่วนประกอบต่างๆ จะต้องกลมกลืนเข้ากันได้กับเครื่องปรุงรสจำพวกซีอิ้ว กระเทียม ขิง น้ำส้ม น้ำมันงา แป้งถั่วเหลือง และหอมแดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น